วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย
1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)
2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)
3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)
4.กำลัง (Power)
5.ความเร็ว (Speed)
6.ความคล่องตัว (Agility)
7.ความอ่อนตัว (Flexibility)
8.การทรงตัว (Balance)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การช่วยฟื้นคืนชีพ

  เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหว ต้องสำรวจตามขั้นตอนการสำรวจพื้นฐาน ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการกู้ชีวิต ดังนี้
1.ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ โดยการเขย่าตัวแรงๆ พอที่จะปลุกคนหลับให้ตื่น ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ คุณ.ตื่น ตื่น.เป็นอะไรหรือเปล่า
2.
เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งอาจพูดว่า “ช่วยด้วย มีคนหมดสติ
3.จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นที่แข็ง เพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวดหัวใจและทำให้แรงบีบเลือดออกจากหัวใจได้มาก ในการทำซีพีอาร์นั้น จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรงศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจ จึงจะทำซีพีอาร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่านอนนี้ควรใช้เวลาไม่เกิน10วินาที
การช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว (Hands only CPR)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง

ปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย
2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้
3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย
4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง
5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย
6.สติปัญญาดีและไหวพริบดี จะช่วยให้รู้จักสังเกตและพิจารณาคนที่คุยด้วยพูดสนทนาด้วยว่าเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้การสร้างสัมพันธภาพง่ายขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 สารเสพติดให้โทษ

           สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด
      วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน ซึ่งหากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว เยาวชนในสังคมทั่วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวงรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเร่งสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมร่วมรับผิดชอบร่วมรณรงค์ ป้องกัน และให้ความรู้อย่างครอบคลุมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจและตระหนักถึงมหันตภัยของสารเสพติด เกิดเป็นเจตคติที่ดีที่จะดำเนินชีวิตให้ห่างไกลและปลอดภัยจากสารเสพติดทุกชนิดได้ด้วยตนเอง

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา

      ยาทุกตัว ย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องใช้อย่างรู้เท่าทันว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไรใช้ขนาดเท่าไหร่นานเท่าไหร่ และอาจมีโทษอะไรได้บ้าง ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
     อันตรายของยา อันตรายของยาอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
   - 
กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
   - 
กินพาราเซตามอลขนาดมาก ๆ อาจทำลายตับ เกิดภาวะตับวายเฉียบพลันถึงตายได้
   - 
กินฟีโนบาร์บิทาล  ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้
   - 
กินยารักษาเบาหวานมากเกิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลม ถึงตายได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ใส่ใจความปลอดภัย

ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย
1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)
2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)
3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)
4.กำลัง (Power)
5.ความเร็ว (Speed)
6.ความคล่องตัว (Agility)
7.ความอ่อนตัว (Flexibility)
8.การทรงตัว (Balance)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สุขภาพชุมชน

     การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีท้างทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
     ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ  การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 โรคจากการประกอบอาชีพและพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม หมายถึง โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของจีนและโครโมโซม ซึ่งจีนและโครโมโซมนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่สู่ลูกโดยตรง โรคทางพันธุกรรมจำแนกได้3ชนิดคือ 
1. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของโครโมโซม
ขณะกำลังเกิดการปฏิสนธิ หรือขณะที่ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว
2. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเรียงตัวของโครโมโซม
3. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการแยกคู่ของโครโมโซมในระหว่าง
การแบ่งตัวทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย ได้แก่ 
     1. โรคธาลัสซีเมียเป็นโรค ทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสารสีแดงใน
เม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการโลหิตจางเรื้อรัง
     2. โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ปัจจัยการแข็งตัว ของเลือดผิดปกติ
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเลือดออกไม่หยุดหรือหยุดยาก
     3. โรคดาว์นซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เด็กจะมีอาการปัญญาอ่อน และ หน้าตาดูแปลกไปจากปกติ มักพบในเด็กที่แม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี ลักษณะทั่วไป เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มี ลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควรทำให้