วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การช่วยฟื้นคืนชีพ

  เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหว ต้องสำรวจตามขั้นตอนการสำรวจพื้นฐาน ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการกู้ชีวิต ดังนี้
1.ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ โดยการเขย่าตัวแรงๆ พอที่จะปลุกคนหลับให้ตื่น ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ คุณ.ตื่น ตื่น.เป็นอะไรหรือเปล่า
2.
เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งอาจพูดว่า “ช่วยด้วย มีคนหมดสติ
3.จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นที่แข็ง เพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวดหัวใจและทำให้แรงบีบเลือดออกจากหัวใจได้มาก ในการทำซีพีอาร์นั้น จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรงศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจ จึงจะทำซีพีอาร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่านอนนี้ควรใช้เวลาไม่เกิน10วินาที
การช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว (Hands only CPR)


                การช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว (Hands only CPR) เป็นการช่วยชีวิตผู้ที่หมดสติด้วยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว เพื่อช่วยบีบเลือดที่หัวใจออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้ฟื้นชีวิตกลับมาได้อย่างปกติ โดยการกดหน้าอกต้องกดตามจังหวะที่เหมาะสม ให้ได้จังหวะการกดอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที จึงมีการนำเพลงมาให้สอบประกอบจังหวะการกดหน้าอก ซึ่งการกดหน้าออกเพื่อช่วยชีวิตตามจังหวะเพลงนั้น ให้วางส้นมือข้างหนึ่งที่หน้าอกตรงกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง จากนั้นวางส้นมืออีกข้างประสานกัน เหยียดแขนตรง กดหน้าอกให้ลึกอย่างน้อง2นิ้วหรือ5เซนติเมตร ปล่อยหน้าอกให้เด้งกลับมาสุด กดแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย ตามจังหวะเพลงจนกว่าความช่วยเหลือจากรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินจะมาถึง
2. การช่วยฟื้นคืนชีพผู้จมน้ำ
                ในการช่วยเหลือคนตกน้ำนั้นควรเริ่มวิธีง่ายๆก่อน ถ้าช่วยด้วยวิธีง่ายๆไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีที่ยากขึ้นตามลำดับดังนี้
1.ใช้วิธียื่นสิ่งของให้เขาจับแล้วดึงเข้าเข้ามา เช่น ยื่นท่อนไม้ ยื่นท่อนเหล็ก ถ้าใกล้ๆหรือไม่มีอะไรจะยื่น อาจยื่นมือ ยื่นขาให้เขาจับได้ แต่ระวังเขาดึงเราตกน้ำไปด้วย
2.
ใช้วิธีโยนสิ่งของที่ลอยน้ำพอจะให้เขาเกาะแล้วพยุงตัวในน้ำได้ เช่น ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ ลูกมะพร้าวอย่างน้อยสองลูก ถังใหญ่ใส่น้ำปิดฝา 
3.
ใช้วิธีลุยน้ำลงไปช่วยในกรณีที่น้ำตื่น แต่ถ้าเขาอยู่ในเขตน้ำลึกที่เราเองหยั่งพื้นไม่ถึงอาจนำท่อนไม้ ท่อนเหล็กไปยื่นให้เขาจับ
4.
ใช้วิธีนำเรือไปช่วยคนตกน้ำ อาจใช้เรือพาย หรือเรือติดเครื่องยนต์ไปช่วย แล้วแต่สถานการณ์และความพร้อมในการช่วยเหลือ
5.
ใช้วิธีว่ายน้ำออกไปช่วยลากคนตกน้ำเข้ามา ซึ่งผู้ช่วยเหลือจะต้องมีทักษะในการว่ายน้ำ ถ้าเคยฝึกการช่วยชีวิตคนตกน้ำ (Life Saving) มาแล้วจะทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการไปช่วยด้วยวิธีนี้ต้องระวังถูกเขากอดรัดเราจมน้ำไปด้วย เพราะมีเหตุเกิดขึ้นมากมายที่ผู้ช่วยเหลือถูกคนที่ตกน้ำรัดจมน้ำตายด้วยกันทั้งคู่ ในการว่ายน้ำออกไปช่วยลากผู้จมน้ำเข้ามา สามารถทำได้ 3วิธี ดังนี้
                -
ใช้วิธีกอดไขว้หน้าอก โดยเข้าทางด้านหลังผู้จมน้ำ ใช้มือข้างหนึ่งพาดบ่ากอดไขว้ทแยงหน้าอก ไปจับข้างลำตัวในซอกรักแร้ของผู้จมน้ำ มืออีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือใช้ว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง เท้าทั้งสองดันน้ำ เพื่อให้ตัวลอยน้ำและเคลื่อนที่ไป ในขณะพยุงตัวผู้จมน้ำเข้าหาฝั่ง ต้องให้ไปหน้าโดยเฉพาะ ปากและจมูกของผู้จมน้ำอยู่พ้นผิวน้ำ
                -ใช้วิธีจับคาง โดยเข้าทางด้านหลังผู้จมน้ำ ใช้มือทั้งสองข้างจับขากรรไกรทั้งสองข้างของผู้ที่จมน้ำ โดยผู้ช่วยเหลือใช้เท้าทั้งสองข้างดันน้ำ เพื่อให้ตัวลอยและเคลื่อนที่ไป และพยายามให้ใบหน้าผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ วิธีนี้จะต้องแน่ในว่าผู้จมน้ำไม่มีกระดูกที่คอหัก
                -ใช้วิธีจับผม โดยเข้าทางด้านหลังของผู้จมน้ำ ใช้มือข้างหนึ่งจับผมผู้ที่จมน้ำไว้ให้แน่น แล้วใช้มือว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง เท้าทั้งสองดันน้ำ เพื่อให้ตัวลอยน้ำและเคลื่อนที่ไป โดยที่ใบหน้าผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ วิธีนี้เหมาะกับผู้จมน้ำที่ดิ้นมาก และพยายามกอดรัดตัวผู้ช่วยเหลือ
เมื่อผู้จมน้ำขึ้นมาบนฝั่งแล้วให้รีบช่วยเหลือดังนี้
1.รีบตรวจสอบการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่หายใจ หรือ หัวใจไม่เต้น ให้ช่วยหายใจและช่วยกระตุ้นหัวใจด้วยการผายปอดแบบเป่าปาก และนวดหัวใจสลับกันไป
2.
อย่าเสียเวลากับการพยายามเอาน้ำออกจากปอด หรือกระเพาะอาหารในระหว่างการช่วยหายใจและช่วยการเต้นของหัวใจ ควรเน้นที่การผายปอดและการนวดหัวใจจะดีกว่า
3.
กรณีที่ผู้จมน้ำนั้นจมน้ำเพราะกระโดดน้ำแล้วปะทะของแข็ง หรือเล่นกระดานโต้คลื่น การช่วยเหลือต้องระวังเรื่องกระดูกหัก เมื่อนำผู้จมน้ำมาถึงน้ำตื่นพอที่จะยืนได้สะดวกแล้ว ใช้ให้ไม่กระดานแข็งสอดใต้น้ำเข้ารองรับตัวผู้จมน้ำ ใช้ผ้ารัดตัวผู้จมน้ำติดกับไม้ไว้
4.ให้ความอบอุ่นร่างกายผู้จมน้ำโดยใช้ผ้าห่มไว้
5.
รีบนำส่งโรงพยาบาล
คำถามท้ายบท : ถ้านักเรียนพบคนตกน้ำและว่ายน้ำไม่เป็นจะช่วยเหลืออย่างไร
3.การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
                การอุดกั้นทางเดินหายใจอาจเกิดจากการมีวัสดุแปลกปลอมเข้าไปขัดขวางทางเดินหายใจ ซึ่งได้แก่ วัสดุต่างๆที่เข้าปากได้ และไปขัดขวางที่หลอดลม จึงทำให้อาจการไม่สามารถผ่านหลอดลมไปสู่ปอดและออกจากปอดผ่านหลอดลมออกมาได้ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับอาการนั้นผู้ป่วยจะสำลักอย่างรุนแรง ไป หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง ถ้ามีการอุดตันมากจนทำให้หายใจแทบไม่ออก ตัวจะเขียว ปลายมือ ปลายเท้าเขียว และหัวใจอาจหยุดเต้น วิธีการช่วยเหลือทำได้ดังนี้
1.ผู้ช่วยเหลือประเมินสถานการณ์ดูว่า ผู้ป่วยสามารถสำลักหรือไอเอาสิ่งแปลกปลอมให้หลุดออกมาด้วยตนเองได้หรือไม่ ถ้าได้ให้พักผ่อนไม่ต้องพาไปพบแพทย์
2.ถ้าประเมินแล้วว่า วัสดุแปลกปลอมนั้นอยู่ลึกให้ช่วยเหลือดังนี้
2.1 ให้ผู้ป่วยยืนด้านหน้า ก้มศีรษะให้ต่ำกว่าทรวงอก ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังและหันหน้าไปทางเดียวกันกับผู้ป่วย แล้วสอดแขนทั้งสองใต้รักแร้และโอบตัวผู้ป่วยไว้ ให้กำมือข้างหนึ่งเป็นปั้นวางบริเวณกึ่งกลางระหว่างลิ้นปี่และสะดือผู้ป่วย แล้วเอามืออีกข้างหนึ่งกำรอบกำปั้น แล้วจึงออกแรงกระแทกขึ้นไปทางด้านบนแรงๆ 5 ครั้ง โดยไม่ให้ถูกลิ้นปี่หรือชายโครงทำเช่นนี้จนกว่าวัสดุแปลกปลอมจะหลุดออกมา
2.2 ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้ผู้ช่วยเหลือตรวจสอบความรู้สึกตัวก่อน ถ้าไม่หายใจต้องช่วยให้หายใจโดยการผายปอดด้วยวิธีเป่าปากก่อน ถ้าทรวงอกไม่ขยายแสดงว่ามีสิ่งอุดตันแน่นอน ให้คุกเข่าคร่อมบริเวณต้นขาของผู้ป่วยใช้สันมือทั้งสองข้างวางทับกันให้ส้นมือตรงกับกะบังลมโดยดันขึ้นไปทางศีรษะผู้ป่วยด้วยส้น 5 ครั้ง ถ้าพบว่าวัสดุแปลกปลอมออกมาแล้วให้ใช้นิ้วมือล้วงวัสดุแปลกปลอมออกจากปาก
2.3 ถ้าวัสดุแปลกปลอมอุดตันในเด็กเล็ก ให้ผู้ช่วยเหลือจับตัวเด็กวางบนตักโดยจัดศีรษะห้อยต่ำลงแล้วใช้ส้นมือตบหลังบริเวณสะบัก 5 ครั้ง ถ้าเป็นเด็กทารกให้จับตัววางบนท้องแขนข้างหนึ่ง แล้วใช้ส้นมืออีกข้างหนึ่งตบกลังบริเวณสะบัก 5 ครั้ง จะทำให้เด็กหรือทารกไอหรือสำลักจนวัสดุแปลกปลอมหลุดออกมา
3.ตรวจสอบการหายใจและคลำชีพจรด้วยขณะให้การช่วยเหลือ ถ้าไม่หายใจให้ช่วยหายใจโดยการผายปอดด้วยวิธีเป่าปาก หรือถ้าคลำชีพจรไม่พบให้นวดหัวใจ จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
 4.การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง
สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ตีบ หรืออุดตัน อาการที่แสดงออกคือ แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด ปวดศีรษะหรือเสียการทรงตัวและล้มลงอย่างกะทันหัน มองไม่เห็นหรือมองภาพไม่ชัด ไม่รู้สึกตัว ในรายที่หลอดเลือดสมองตีบ อาจมีอาการเตือนนำ เช่น เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด สับสน แขนขาซีกใดซีกหนึ่งชาหรืออ่อนแรงหรือในบางกรณีขยับแขนขาไม่ได้เลย
สำหรับการช่วยเหลือนั้น ต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าหยุดหายใจให้ผายปอดด้วยวิธีเป่าปากแล้วรีบนำส่งแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ การจัดท่านอนในขณะนำส่งแพทย์นั้นควรจัดท่านอนให้ศีรษะสูง 15 - 30 องศา เพื่อลดการคั่งของเลือดในสมองและความดันในกะโหลกศีรษะ
ผังสรุปสาระสำคัญ
การช่วยฟื้นคืนชีพ
1.การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยการทำซีพีอาร์ (CPR)
                
เป็นการกู้ชีวิตเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจที่หยุดกะทันหันให้กลับมาทำงานตามปกติไม่เกิดความพิการของสมอง
2. การช่วยฟื้นคืนชีพผู้จมน้ำ
                
สามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การยื่นสิ่งของให้จับและดึงเข้าหาฝั่ง การว่ายน้ำลงไปช่วย ซึ่งเมื่อความช่วยเหลือได้แล้วต้องตรวจสอบการเต้นของหัวใจและกระตุ้นหัวใจโดยการผายปอดด้วยวิธีเป่าปากและนวดหัวใจสลับกันไป
3. การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
                
ต้องรีบทำให้สิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นทางเดินหายใจออกมาถ้าหากผู้ป่วยหมดสติต้องรีบผายปอดด้วยวิธีเป่าปาก
4. การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง
                
ผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงเรียกว่าอัมพฤกษ์ หรือขยับแขนขาไม่ได้เลยเรียกว่าอัมพาต การช่วยเหลือต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่งถ้าหยุดหายใจต้องรีบผายปอดด้วยวิธีเป่าปากและนำส่งแพทย์
5. การช่วยผื้นคืนชีพผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด
                
หากพบต้องรีบยกสะพานไฟหรือปิดสวิทช์เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าใช้วัสดุแห้งคล้องตัวผู้ป่วยแล้วดึงออกมาสังเกตผู้ป่วยว่ามีอาการช๊อกหรือไม่และให้การช่วยเหลือโดยการผายปอดและนวดหัวใจ
คำถามพัฒนากระบวนการคิด
1. วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยการทำซีพีอาร์ (CPR) มีความสำคัญอย่างไร
2. หากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงจะเกิดผลอย่างไร
3.
วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพผู้จมน้ำทำอย่างไร
4. 
ถ้าเมล็ดถั่วหลุดเข้าไปในหลอดลมเพื่อน นักเรียนจะช่วยอย่างไร
5. 
วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดทำอย่างไร

การช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
                ในบางกรณีหรือในผู้บาดเจ็บบางราย หัวใจจะหยุดเต้นหรือหยุดทำงานอย่างกะทันหันร่วมกับการหยุดหายใจ ในกรณีเช่นนี้การช่วยการทำงานของหัวใจจากภายนอก บางครั้งเรียกว่า การนวดหัวใจภายนอกช่องอก จะสามารถช่วยรักษาชีวิตของผู้บาดเจ็บไว้ได้
การกระตุ้นการทำงานของหัวใจร่วมกับการช่วยหายใจ ทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การปฏิบัติการช่วยเหลือโดยผู้ช่วยเหลือ 1 คน 
2. การปฏิบัติการช่วยเหลือโดยผู้ช่วยเหลือ 2 คน
การปฏิบัติการช่วยเหลือโดยผู้ช่วยเหลือ 1 คน มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
ขั้นที่ 1 : ตรวจชีพจร
1. การตรวจชีพจร ผู้ช่วยเหลือเมื่อช่วยหายใจโดยการเป่าลมเข้าปอดตามรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต้องตรวจชีพจรของผู้บาดเจ็บ เพราะชีพจรเป็นสัญญาณชีพที่บอกถึงการทำงานของหัวใจตามปกติชีพจรจะเต้น 72 - 80 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ การตรวจชีพจรทำได้โดยการจับที่หลอดเลือดแดงใหญ่ซึ่งตามปกติแล้วจะจับได้หลายตำแหน่ง เช่น ที่ข้อมือ ข้อศอกด้านใน ขมับ ขาหนีบ และที่หลอดเลือดแดงที่คอซึ่งเป็นตำแหน่งที่จับชีพจรได้ชัดเจนที่สุด การจับชีพจรที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ หรือเรียกว่า หลอดเลือดคาโรติด (Carotid Artery) ทำได้โดยวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงที่ลูกกระเดือกของผู้บาดเจ็บ แล้วเลื่อนลงมาในช่องที่อยู่ระหว่างลูกกระเดือกกับกล้ามเนื้อของคอ มืออีกข้างหนึ่งที่อยู่ด้านบนดันหน้าผากให้แหงนอยู่ตลอดเวลา จับชีพจรที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ลำคอ
การจับชีพจรจะต้องพิจารณา 2 ลักษณะ คือ
-
จำนวนครั้งหรืออัตราของการเต้นของชีพจรต่อนาที
-
ความสม่ำเสมอหรือจังหวะของการเต้นของชีพจร
2. เริ่มต้นการกระตุ้นหัวใจ เริ่มด้วยการคุกเข่าลงข้างๆ ลำตัวผู้ป่วยบริเวณหน้าอกใช้นิ้วมือ สัมผัสชายโครง และเลื่อนนิ้วมากดตรงกลาง จนกระทั่งนิ้วนางสัมผัสปลายกระดูกหน้าอกได้ ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางวางบนกระดูกหน้าอกต่อจากนิ้วนาง ใช้สันมืออีกข้างหนึ่งวางตรงกึ่งกลางกระดูกหน้าอก ตำแหน่งที่อยู่ถัดจากนิ้วชี้ขึ้นไปข้างบนและยกอีกมือหนึ่งวางซ้อนลงบนมือที่อยู่ชิดกระดูกหน้าอก 
                โน้มตัวให้ตั้งฉากกับมือทั้งสองที่กดหน้าอก เพื่อให้สามารถถ่ายทอดน้ำหนักตัวลงบนแขนและมือได้สะดวก (นับจำนวนครั้งที่กดทุกครั้ง หนึ่งและสอง และสาม และสี่ และห้า...)
ขั้นที่ 2 : กระตุ้นการทำงานของหัวใจ (ระยะเวลาในการปฏิบัติ 1 รอบ ประมาณ 55 - 65 วินาที)
                การกดต้องกดลงด้วยน้ำหนักที่ทำให้กระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร ด้วยอัตราประมาณ 80 ครั้ง/นาที อย่ากดโดยใช้มือกระแทกลงแรงๆ และอย่าใช้นิ้วมือกดซี่โครงเป่าลดเข้าปอดให้ถูกต้อง 2 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก15 ครั้ง
                ระยะเวลาที่ใช้ในการกดนาน 50% (1/2 วินาที) เพื่อให้หัวใจบีบตัวไล่เลือดออกจากหัวใจส่วนอีก 50% (1/2 วินาที) เป็นเวลาที่ยกมือขึ้นเพื่อปล่อยให้หัวใจขยายตัวรับเลือดเข้าไปในหัวใจและต้องให้ออกซิเจนผ่านปอดอย่างเพียงพอ
ขั้นที่ 3 : ตรวจชีพจรและการหายใจซ้ำ
3. 
การตรวจชีพจรและการหายใจภายหลังปฏิบัติการช่วยเหลือแล้ว ภายหลังการปฏิบัติการช่วยเหลือครบ 4 รอบแล้ว (ช่วยหายใจโดยการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก 15 ครั้ง คิดเป็น 1 รอบ) ตรวจชีพจรและการหายใจ ถ้าจับชีพจรไม่ได้ให้ช่วยเหลือโดยการช่วยเป่าลมเข้าปอดและกดหน้าอกต่อไปแต่ถ้าจับชีพจรได้แต่ยังไม่หายใจให้ช่วยโดยการเป่าลมเข้าปอดต่อไปอย่างเดียวจนกว่าผู้บาดเจ็บจะหายใจได้เอง
การปฏิบัติการช่วยเหลือโดยผู้บาดเจ็บ 2 คน
                การปฏิบัติการช่วยเหลือโดยผู้บาดเจ็บ 2 คนนั้น ผู้ช่วยเหลือจะจัดแบ่งหน้าที่กันโดยคนที่ 1 เป็นผู้ช่วยหายใจ โดยการเป่าลมเข้าปอดผู้บาดเจ็บ ส่วนผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 เป็นผู้ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยการกดหน้าอก 
                หลังการปฏิบัติ คือ ต้องให้ออกซิเจนผ่านเข้าไปในปอดก่อนทุกครั้ง ก่อนเริ่มลงมือกดหน้าอกเพื่อให้เลือดออกจากหัวใจไปปอด และอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ในการปฏิบัติให้ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 เป่าลมเข้าปอด 1 ครั้ง และผู้ช่วยเหลือคนที่ 2กดหน้าอก 5 ครั้งต่อเนื่องกันไปโดยไม่ต้องหยุดการกดหน้าอก
                การกดหน้าอก ต้องกดให้ตรงจังหวะอย่าสม่ำเสมอด้วยอัตราการกดปล่อย 50 : 50 (1/2 วินาที : 1/2 วินาที)
                การกดหน้าอกนานๆ จะทำให้ผู้ช่วยเหลือรู้สึกเหนื่อย และทำให้การกดหน้าอกไม่ได้ผลอย่างเต็มที่ ต้องเปลี่ยนกันทำและไม่ทำให้เสียจังหวะ และเสียความต่อเนื่องของการปฏิบัติการช่วยเหลือด้วย เพื่อให้การช่วยเหลือนั้นได้ผลอย่างเต็มที่
ทางเดินลมหายใจอุดตัน - ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี
                ถ้าผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี และสามารถตรวจได้แน่ชัดว่าทางเดินลมหายใจอุดตัน โดยการสังเกตจากอาการของผู้บาดเจ็บที่เอามือกุมคอ และพูดไม่มีเสียงออกมา จะต้องรีบให้การช่วยเหลือทันทีแต่ถ้าผู้บาดเจ็บพูดมีเสียงออกมาได้หรือไอออกมาได้ ก็ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือ เพราะผู้บาดเจ็บจะไอเอาสิ่งที่อุดตันนั้นหลุดออกมาได้เอง
การช่วยเหลือให้สิ่งที่อุดตันทางเดินลมหายใจหลุดออกมาทำได้โดย
                1. ใช้มือตบหลังแรงๆ 4 ครั้ง โดยใช้สันมือตบบริเวณระหว่างกระดูกสะบักทั้งสองตรงสันหลัง แรงๆ 4 ครั้งติดต่อกัน โดยให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าคว่ำหน้า โดยใช้มืออีกข้างหนึ่งประคองหน้าอกผู้บาดเจ็บไว้ขณะที่ตบหลัง
                2. กดหน้าท้องหรือกดหน้าอก 4 ครั้ง เพราะการตบหลัง กดหน้าท้อง หรือกดหน้าอกร่วมกันหรือสลับกัน จะทำให้มีความดันไปดันสิ่งที่อุดตันทางเดินหายใจหลุดออกมาได้ วิธีการกดหน้าท้องทำได้โดยยืนด้านหลังผู้บาดเจ็บสองมือโอบรอบบั้นเอวผู้บาดเจ็บ มือที่อยู่ชิดตัวผู้บาดเจ็บกำหมัดแน่น ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ตรงบริเวณยอดอกระหว่างชายโครงทั้งสอง อีกมือหนึ่งกุมรอบกำหมัดให้แน่น แล้วกดหน้าท้องลงไปอย่างแรงโดยมีทิศทางขึ้นทางด้านบน ส่วนการกดหน้าอกทำโดยยืนหลังผู้บาดเจ็บ โอบกอดรอบหน้าอกผู้บาดเจ็บบริเวณใต้รักแร้ มือที่อยู่ชิดผู้บาดเจ็บกำหมัดแน่น ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่บนกระดูกหน้าอก ใช้มืออีกข้างหนึ่งกดแรงๆ ปนกำหมัดโดยให้มีทิศทางขึ้นข้างบน การกดหน้าอกจะให้ผลดีกว่าการกดหน้าท้องในคนอ้วนและหญิงมีครรภ์
สรุป
                
การปฐมพยาบาลโดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นรอดชีวิตได้ และในทางกลับกันถ้าผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีก็อาจจะเสียชีวิตได้ การช่วยชีวิตโดยวิธีการ CPR รายละเอียดข้างต้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลทั้งผู้ช่วยเหลือ หรือผู้ให้การปฐมพยาบาล ต้องได้รับการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติอย่างถูกวิธีไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งก็สามารถทำได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น