วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 สารเสพติดให้โทษ

           สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด
      วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน ซึ่งหากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว เยาวชนในสังคมทั่วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวงรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเร่งสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมร่วมรับผิดชอบร่วมรณรงค์ ป้องกัน และให้ความรู้อย่างครอบคลุมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจและตระหนักถึงมหันตภัยของสารเสพติด เกิดเป็นเจตคติที่ดีที่จะดำเนินชีวิตให้ห่างไกลและปลอดภัยจากสารเสพติดทุกชนิดได้ด้วยตนเอง


            ความหมายและการจำแนกประเภทของสารเสพติด
            จากความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือความหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ สามารถสื่อความหมายของสารเสพติดได้ตรงกันว่าหมายถึง สารหรือยา หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าร่างกายจะโดยวิธีใดๆก็แล้วแต่ จะเป็นผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพในลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ผู้เสพจะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง
2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณของสารเสพติดนั้นขึ้นเรื่อยๆ
3. ต้องตกอยู่ใต้อำนาจบังคับอันเกิดจากฤทธิ์ของสารเสพติดนั้นๆ ทำให้หยุดไม่ได้และเกิดอาการขาดยา เมื่อไม่ได้เสพ
4. ผู้เสพจะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง
จำแนกประเภทได้หลายวิธีที่สำคัญ คือ
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้ 4 ประเภท คือ
1. กดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน เฮโรอีน โซเดียมเซโคบาร์ บิทาล(เหล้าแห้ง) ไดอะซีแฟม แล็กเกอร์ คลอไดอะซีป๊อกไซด์ ทินเนอร์ กาว ฯลฯ
2. กระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า ยาม้า ยาขยัน) อีเฟดีน (ยาอี) โคเคอีน กระท่อม ฯลฯ
3. หลอนประสาท ได้แก่ DMT LSD เห็ดขี้ควาย และสารระเหยต่างๆ
4. ออกฤทธิ์ผสมผสาน ซึ่งครั้งแรกกระตุ้นประสาท แต่เมื่อเสพมากขึ้นก็จะกดประสาท และทำให้ประสาทหลอนได้ ได้แก่ กัญชา กระท่อม
จำแนกตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่5) พ.ศ. 2545 จำแนกได้ 5 ประเภท คือ
1.ยาเสพติดชนิดให้โทษรายแรง ได้แก่ เฮโรอีน อะซีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน ฯลฯ
2.ยาเสพติดให้โทษทั่วไป ได้แก่ ฝิ่นมอร์ฟีน โคเคอีน เอธิลมอร์ฟีน ฯลฯ
3.ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1และ 2 ปรุงผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่น โคเคอีนเป็นส่วนผสม
4.สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 ได้แก่ อะเซติลคอไรด์ อะเซติกแอนไฮไดรด์
5.พืชเสพติดให้โทษ ได้แก่ กัญชา กระท่อม เห็ดขี้ควาย ซึ่งจัดเป็นยาเสพติดที่ไม่เข้าประเภท 1 และ 4
ชนิดของสารเสพติดให้โทษที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน
1. แอมเฟตามีน หรือยาบ้า
   ลักษณะทั่วไป
เป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่เก็บความจำ ความคิดและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีชื่อเรียกทางการค้าต่างๆ กัน เช่น เบนซีดรีน เด็กซีดรีน ฟีนามีน ฯลฯ แต่ในกลุ่มผู้เสพนิยมเรียกกันว่า ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาเพิ่มพลัง และสุดท้ายเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ยาบ้า ผงแอมเฟตามมีนเมื่อนำมาผลิตอัดเป็นเม็ดจะมีหลายลักษณะทั้งเม็กกลมและแคปซูน มีหลายสี แต่ส่วนมากมีสีขาว สีน้ำตาล เม็ดกลมแบน มีลักษณะบนเม็ดยา เช่น รูปหัวม้า 99 รูปดาว LONDONฯลฯ ในอดีต วงการแพทย์ใช้แอมเฟตามีนรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต โรคซึมเศร้า โรคง่วงเหงาหาวนอน ใช้ลดความอ้วน แต่ด้วยอาการติดยา และมีผลเสียต่อสุขภาพจึงเลิกใช้ในปัจจุบัน ฤทธิ์ของแอมเฟตามีนจะมีผลมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นกับปริมาณยา ระยะเวลาของการใช้ยา สภาพของร่างกายผู้เสพ และเอกลักษณ์ทางเคมีของตัวยาว่ามีมาก้อยเพียงใดเป็นสำคัญ
   อาการของผู้เสพติดแอมเฟตามีนหรือยาบ้า
ฤทธิ์ของแอมเฟตามีนหรือยาบ้าส่งผลกระทบต่อผู้เสพ ก่อให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจดังต่อไปนี้
   อาการทางกาย
            ผู้เสพแอมเฟตามีนหรือยาบ้าประมาณ 20-30 กรัมต่อวัน จะมีอาการเบื่ออาหาร พูดมากตื่นเต้นง่าย มือสั่น คลื่นไส้ ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง หน้ามัน ไม่ง่วง ทำงานได้นานกว่าปกติ รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด ท้องเสีย มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย จะทำให้ตัวซีดจนอาจเขียว มีไข้ขึ้นใจสั่น หายใจไม่ออก มือสั่นมาก เดินโซเซ คลื่นไส้อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อาจชักหมดสติหรือเสียชีวิตด้วยอาการของโรคหัวใจวาย หรือหลอดเลือดในสมองแตก นอกจากนี้ผู้เสพยาบ้า ยังมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคตับอักเสบ ไตไม่ทำงาน โรคเกี่ยวกับปอด และโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย
   อาการทางจิต
            เนื่องจากยาบ้ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทส่วนกลางและเป็นยาที่ถูกดูดซึมได้ง่าย จึงต้องเพิ่มขนาดเสมอๆ และเมื่อเสพต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการทางจิต คือ หวาดระแวง วิตกกังวล มีอาการประสาทหลอน บางรายเพ้อ คลุ้มครั่ง อาจเป็นบ้า ทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้
2. อีเฟดีน หรือยาอี
   ลักษณะทั่วไป
เป็นผงละเอียดสีขาว ที่มักเรียกกันว่า ยาอี ยาเอฟ หรือ ยาอี๊ เมื่อนำมาผลิตจะมีหลายลักษณะ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับยาบ้าจึงระบาดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยมีการนำมาใช้แทนยาบ้า ก่อให้เกิดปัญหาต้อชีวิตและทรัพย์สินส่วนรวมอย่างมากมายกฎหมายจึงมีการควบคุมและมีมาตรการลงโทษเช่นเดียวกับยาบ้าด้วย
   อาการของผู้เสพติดอีเฟดีน
จะมีอาการคล้ายกับผู้ติดยาบ้า
3. ฝิ่น
   ลักษณะทั่วไป 
ฝิ่นเป็นพืชล้มลุก เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล (กระเปาะ) มีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็นเขียว รสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ หากนำมาเคี้ยว ต้ม หรือหมักจนเป็นฝิ่นสุก จะมีสีน้ำตาลไหม้ปนดำ มีรสขมเฉพาะตัว ในอดีตทางการแพทย์ใช้เป็นยาระงับปวด แก้โรคท้องเดิน และอาการไอ ด้วนมีฤทธิ์กดระบบประสาท
   อาการของผู้เสพติดฝิ่น
ขณะเสพผู้เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจากวน อารมณ์ดี ความคิดและการตัดสินใจเชื่องช้า
ผู้เสพฝิ่นติดต่อกันมานาน สุขภาพร่างการจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ตาเหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงนอน เกรียจคล้านไม่รู้สึกตัว อารมณ์แปรปรวนง่าย ชีพจร เต้นช้า ความจำเสื่อม หากไม่ได้เสพจะมีอาการหงุดหงิด น้ำมูกน้ำตาไหลม่านตาขยายผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หายใจ ลำบาก อาจชักและหมดสติ
4.มอร์ฟีน
   ลักษณะทั่วไป
            เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำง่าย มีฤทธิ์กดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น 8-10 เท่าเสพติดได้ง่าย มีลักษณะต่างกันเช่น เป็นเม็ด ผง หรือแท่งสี่เหลี่ยม
   อาการของผู้เสพติดมอร์ฟีน 
            ด้วยฤทธิ์กดประสาท ผู้ที่เสพมอร์ฟีนในระยะแรกจะช่วยทำให้ลดความวิตกกังวลคลายความเจ็บปวดทางร่างกายและทำให้ง่วงนอน หลับง่าย หากใช้เพื่อการรักษาต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ แต่ผู้ที่เสพจนติดแล้วฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะทำให้เหม่อลอย เซื่องซึม เป็นต้น
5.เฮโรอีน (Heroin)
   ลักษณะทั่วไป
            เป็นสารเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุด ได้มาจากกรรมวิธีทางเคมี ฤทธิ์มีความรุนแรงกว่ามอร์ฟีน 4-8 เท่า มีสองชนิดคือ ผงขาวเป็นเฮโรอีนบริสุทธ์ และไอละเหย เป็นเฮโรอีนไม่บริสุทธิ์    
   อาการของผู้ที่เสพติดเฮโรอีน                          
ผู้ที่เสพครั้งสองครั้งอาททำให้ติดเฮโรอีนได้ทันที ขณะเสพจะออกฤทธิ์กดประสาททำให้มึนงง เซื่องซึม ง่วง อ่อนเพลีย เคลิ้มหลับได้นานโดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ผู้ที่เสพประจำจะทำให้สมองเสื่อม ปัญญาอ่อน ร่างกายซีดผอม สุขภาพทรุดโทรม ถึงขั้นช็อกละเสียชีวิตได้
6. โคเคน(Cocaine)
ลักษณะทั่วไป
            โคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จาการสังเคราะห์ใบของต้นโคคาที่แปรสภาพสุดท้ายเป็น Cocaine Hydrochloride อันเป็นโคเคนบริสุทธิ์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วยกลางเหมือนยาบ้า แต่จะทำให้ติดยาได้ง่ายกว่า มีลักษณะเป็นผงละเอียด สีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น
             อาการของผู้เสพติดโคเคน
            เมื่อเสพโคเคนเข้าไประยะแรกจะทำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าคล้ายมีกำลังมากขึ้น ไม่เหนื่อย แต่จะอ่อนล้าทันทีเมื่อหมดฤทธิ์และมีอาการซึมฤทธิ์ของโคเคนจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้ชักและเสียชีวิตได้
            7. กัญชา
            ลักษณะทั่วไป
            กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า จะใช้ใบและยอดช่อดอกตัวเมียมาตากหรืออบแห้ง แล้วหั่นหรือบดมาสูบกับบุหรี่หรือใช้บ้องไม่ไผ่ อาจใช้เคี้ยวหรือบดในอาหาร ออกฤทธิ์หลายอย่างรวมกัน ทั้งกระตุ้น กดและหลอดประสาท
            อาการของผู้เสพติดกัญชา
            ระยะแรกจะกระตุ้นประสาท ทำให้พูดมาก หัวเราะตลอดเวลา ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะคล้ายคนเมาเหล้า ง่วงนอน ซึม ถ้าเสพมากจะหลอนประสาทเห็นภาพลวงตา ความคิดสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจทำให้เป็นบ้าได้ ทำให้ติดโรคได้ง่าย ความรู้สึกทางเพศลดน้อยหรือหมดไปด้วย
            8. สารระเหย
            ลักษณะทั่วไป
            เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมีที่ได้มาจากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมมีลักษณะเป็นไอระเหยเร็ว มักพบในรูปผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ เช่น ทินเนอร์ กาวน้ำ กาวยาง แล็กเกอร์ สีพ่น น้ำยาล้างเล็บ โดยถูกเสพผ่านทางเดินหายใจจะเข้าสู่กระแสเลือดแพร่กระจายไปส่วนต่างๆอย่างรวดเร็ว โดยสารพิษบางส่วนจะถูกกำจัดออกทางปอด ได้กลิ่นสารระเหยจากลมหายใจของผู้เสพผู้เสพได้
            อาการของผู้เสพติดสารระเหย
            1. พิษระยะเฉียบพลัน หลังเสพประมาณ 15-20 นาที ผู้เสพจะตื่นเต้น ร่าเริง ต่อมาจะมีอาการเมา พูดจาอ้อแอ้ (แม้ไม่มีกลิ่นสุรา) ความคิดสับสนควบคุมตัวเองไม่ได้ ฤทธิ์จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ หูแว่ว จากนั้นจะซึม ง่วงเหงาหาวนอน อาเจียน หมดสติ และอาจทำให้หัวใจล้มเหลวเสียชีวิตได้
            2. พิษเรื้อรัง การเสพสารระเหยต่อเนื่องนานๆ เซลล์อวัยวะต่างๆ จะถูกทำลาย เกิดโรคต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะจะทำลายเซลล์สมอง ทำให้เป็นโรคสมองฝ่อถาวร ซึ่งไม่มีทางรักษาให้คืนสภาพปกติได้ และทำให้เป็นอัมพาตพิการถาวรได้
            วิธีสังเกตอาการของผู้ใช้สารเสพติด
            ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม อ่อนเพลีย ผิวหน้าหยาบกร้าน ตาสู้แสงแดดไม่ได้ ลุกลี้ลุกลน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความรับผิดชอบ พฤติกรรมเปลี่ยน อาการเมื่อขาดสารเสพติดจะมีอาการขนลุก เหงื่อออก น้ำมูกน้ำตาไหล กระสับกระส่าย หายใจถี่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ปวดศีรษะและกระดูก นอนไม่หลับ
            การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. ทดลองด้วยยา โดยการฉีดยาทำลายฤทธิ์ของสารเสพติด ทำให้เกิดอาการขาดยา
2. การเก็บปัสสาวะ หรือเลือด (เฉพาะในกรณีการตรวจแอลกอฮอล์และสารละเหย) เพื่อหาสารเสพติดในร่างการ ซึ่งสามารถแยกชนิดของสารเสพติดได้
            สาเหตุของการติดสารเสพติดให้โทษ
1. สาเหตุทางด้านบุคคล
1.1 ถูกชักชวน
1.2 สภาพความกดดันทางครอบครัว  เช่น การทะเลาะกันของพ่อแม่
1.3 ความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น คนขับรถหรือลูกเรือในทะเล
1.4 เกิดความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิตใจ อาจมีการใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการป่วยทางกายและทางจิตบางชนิดนานติดต่อกันจนติดยาได้
1.5 ถูกหลอกลวงโดยผู้รับไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนรับมาเป็นสารเสพติดหรือโดยการผสมปลอมปนกับอาหาร ของขบเคี้ยว
2.  สาเหตุจากตัวยาหรือสารเสพติด
            ตามปกติแล้วตัวยาหรือสารเสพติดจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ถ้าคนไม่นำมาใช้ แต่เมื่อบุคคลใช้ยาหรือสารเสพติด คุณสมบัติเฉพาะของสารนั้นจะทำให้เกิดการเสพติดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของสารเสพติดที่ใช้
3. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม
            3.1 อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อ-ขาย หรือเสพ สารเสพติด
            3.2 สภาพแวดล้อมบังคับ โดยเฉพาะผู้ที่ติดสารเสพติดแล้วต้องการจะเลิกเสพเมื่อเข้ารับการรักษาหายแล้ว สังคมอาจจะไม่ยอมรับ แหล่งงานปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากมีประวัติติดสารเสพติด จึงทำให้ต้องกลับไปอยู่ในสังคมสารเสพติดเช่นเดิม
            โทษและพิษภัยของสารเสพติด
1. ต่อผู้เสพ ทำให้สุขภาพทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดโรคต่างๆ
2. ต่อครอบครัว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสียรายได้ เกิดความไม่สงบสุขภายในครอบครัว
3. ต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
4. ต่อประเทศชาติ ทำให้สูญเสียเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ       การป้องกันสารเสพติด
            ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาและหน้าที่ของทุกๆคนทุกๆหน่วยงานต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันดำเนินการในด้านการป้องกันสารเสพติด ควรเริ่มต้นจากเด็กและเยาวชนให้รู้จักการป้องกันตนเองจากสารเสพติดได้ เพราะเด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่าที่จะเป็นพลังสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต มาตรการเพื่อป้องกันสารเสพติด
            การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด
            การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดสารเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชิวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ สามารถแบ่งระบบการรักษาออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบสมัครใจ หมายถึง การที่ผู้ติดสารเสพติดสมัครใจ มีความพร้อมที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
2. ระบบต้องโทษ หมายถึง การที่ผู้ติดสารเสพติดกระทำความผิดและถูกคุมขัง จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
3. ระบบบังคับ หมายถึง การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดยการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดหากตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย ผู้เสพติดจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 เดือน หรืออาจจะขยายหรือลดระยะเวลา การบำบัดรักษาได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 ปี เพื่อให้การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดได้อย่างเด็ดขาด 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น