วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง

ปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย
2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้
3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย
4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง
5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย
6.สติปัญญาดีและไหวพริบดี จะช่วยให้รู้จักสังเกตและพิจารณาคนที่คุยด้วยพูดสนทนาด้วยว่าเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้การสร้างสัมพันธภาพง่ายขึ้น


ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
มีความสำคัญ ดังนี้
1.ทำให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น
2.มีเพื่อนและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.มีความรู้สึกที่ดีต่อคนอื่น
4.ได้รับการร่วมมือที่ดีในการติดต่อประสานงานหรือการทำงาน
5.มีศรัทราและมีกำลังใจในการดำรงชีวิต
6.เกิดความสามัคคีและให้ความร่วมมือในส่วนรวมมากขึ้น
7.เกิดการช่วยเหลือในสังคมมากขึ้น
การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในครอบครัว
          ครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก หรือบางครอบครัวที่เป็นครอบครัวใหญ่อาจรวม ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ที่รวมกันอย่างมีความสุข และมีหลักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีดังนี้
1.ทุกคนต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของครอบครัวสม่ำเสมอ
2.เคารพเชื่อฟังและให้เกียติซึ่งกันและกัน เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่
3.ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
4.รักและซื่อสัตย์ต่อครอบครัว
5.มีความเอื้ออาทรต่อกันละกันภายในครอบครัว
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน
เพื่อนคือคนที่ชอบพอรักใคร่กัน คนที่คบกันเป็นเพื่อนส่วนใหญ่จะมีความชอบ ความคิดเห็นตรงกัน และพฤติกรรมเหมือนๆหรือใกล้เคียงกัน หลักการสร้างภาพระหว่างเพื่อนคือ
1.รักและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในเวลาปกติและในเวลาที่เดือดร้อน
2.สามารถปรับทุกข์และร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเพื่อนได้
3.ยอมรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อกัน
4.สนใจและเอาใจใส่ความรู้สึกของเพื่อนเสมอ
5.ไม่เห็นแก่ตัวและไม่เอาเปรียบเพื่อน
การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข จะเกิดขึ้นได้โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1.พัฒนาบุคลิกภาพให้ผู้พบเห็นเกิดความชื่นชมและประทับใจด้วยการพูดกิริยาท่าทางต่างๆและการวางตัวอย่างเหมาะสม
2.การแสดงออกด้วยความใจกว้างและใจดี
3.การให้ความช่วยเหลือเอาใจใส่ในกิจกรรมละงานส่วนรวม
4.ให้คำแนะนำและเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5.ร่วมกันแก้ปัญหาในสังคมให้ดีขึ้น
ทักษะที่จำเป็นในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
ทักษะที่จำเป็นในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลที่น่าสนใจและควรศึกษามีดังนี้
-ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสื่อสารเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เกิดการยอมรับและความเข้าใจดีต่อกันนั้นมีหลายวิธี คือ
1.การใช้คำพูด การพูดที่ดีหรือเรียกว่ามีศิลปะในการพูด ต้องฝึกการพูดและการแสดงออกต้องเหมาะสม
2.ทักษะการฟัง การเป็นผู้ฟังที่ดีสามารถสร้างความประทับใจให้กันผู้พูดหรือผู้ที่สนทนาด้วย ต้องตั้งใจฟังจับใจความเนื้อหาและทำความเข้าใจในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดให้ได้ คิดตามไปกับเรื่องที่กำลังฟังอยู่ ไม่ทรอดแทรกขัดจังหวะ ไม่แสดงอารมณ์ว่าไม่พอใจ สนใจผู้พูดตลอดเวลา
-ทักษะการต่อรองเพื่อประนีประนอม
การต่อรอง หมายถึง การทำให้ลดลงเช่นของแพงมีการต่อรองให้ราคาลดลง ส่วนการประนีประนอมก็คือการผ่อนหนักให้เป็นเบาให้แก่กันหรือปรองดองกัน ดังนั้นทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอมจึงหมายถึงทักษะที่ลดความรุนแรงหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับหลายคู่กรณีทั้งหลาย โดยการใช้ทักษะดังนี้
1.ควบคุมอารมณ์ ไม่ใจร้อน มีเหตุผล
2.รอบคอบ ความรอบคอบจะสามารถคิดหาเห็นผลในการต่อรองได้ดี
3.ใช้เหตุผล เหตุผลจะทำให้การต่อรองดีขึ้น
4.มีการยืดหยุ่น การรู้จักผ่อนหนักเป็นเบา คล้อยตามบ้าง
5.สุภาพอ่อนโยน
คำพูดที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง
คำพูดที่ประนีประนอม
1.เธอไม่ต้องมาชวนเราไปทำเรื่องไร้สาระเลยนะ เราไม่มีเวลาว่างมากเหมือนเธอ
1.เราอยากไปเดินซื้อของกับเธอนะ แต่เรายังทำการบ้านไม่เสร็จเลย ถ้าทำเสร็จก่อนที่เธอจะไป เราจะไปด้วยแล้วกันนะ
2.เราว่ามานีพูดถูกที่เธอไม่มีเหตุผลเลย พูดอย่างนี้ไม่มีใครอยากพูดกับเธอหรอก
2.เราว่าที่เธอพูดก็มีส่วนถูก แต่มองอีกด้านหนึ่ง ที่มานีพูดมาก็มีเหตุผลน่ารับฟังเหมือนกันนะ เราควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อจะตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเธอว่าดีไหม
3.เธอเอาแต่ใจเกินไปแล้วนะ
3.เธอน่าจะฟังคนอื่นบ้างนะ
-ทักษะการเข้าสังคม
มนุษย์ย่อมมีสังคมของตนเอง เช่น วัยเด็กเด็กจะเป็นสังคมในครอบครัว โรงเรียนหรือเพื่อนบ้านเมื่อโตขึ้นสังคมจะกว้างขึ้นมีสังคมกับคนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกันไป ทักษะในการเข้าสังคมคือ
1.ทักษะในการพูด ต้องมีการเตรียมหรือศึกษากลุ่มสังคมที่จะต้องไปพบปะสังสรรค์เพื่อจะได้พูดคุยให้ตรงความสนใจของผู้ฟัง
2.ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ขักแน้งหรือก่อกวน
3.มีความสุภาพ รู้กาลเทศะในการพูดคุย ในการวางตัว และการแต่งกายเหมาะสม
ความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืนหรือต่อต้านกัน ทั้งภายในตนเอง และระหว่างกลุ่มบุคคล ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้อันเป็นผลทำให้เกินการแข่งขัน หรือทำลายกัน
ปัญหาความขัดแย้ง
ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชนมีหลายประการ ดังนี้
1.การทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน อาจเกิดจากบุคคล 2 คนที่ทำร้ายชกต่อย ตีกัน ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียน ที่พบบ่อยคือการทำร้ายจิตใจกันด้วยวาจา การล้อเลียนกัน การที่รุ่นพี่ครอบงำบังคับรุ่นน้องและการคุกคามทางเพศ
2.การทะเลาะวิวาทภายนอกสถาบัน ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากความรุนแรงที่เกิดจากความไม่พอใจกันระหว่างบุคคลกับบุคคล หรืออาจขยายเป็นระหว่างกลุ่มมักเกิดจากนักเรียน
3.การถูกทำร้ายทางเพศ วัยรุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศ โดยมากมักเกิดจากความขัดแย้ง ทำให้เกิดความโกรธ อยากแก้แค้นกัน อาจใช้วิธีหลอกล่อและบังคับบางรายถูกทำร้ายทางเพศติดต่อกันหลายปี กว่าที่คนใกล้ชิดหรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะรู้เรื่องหรือผู้ถูกทำร้ายทางเพศยอมเปิดเผยเรื่องราว
สาเหตุของความขัดแย้ง
สาเหตุของความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน มีดังนี้
1.เกิดจากความไม่พอใจจนทำให้มีความขัดแย้งกันในเรื่องต่างๆ จนเกิดอารมณ์เป็นเหตุให้ใช่ความรุนแรงต่อกัน มักเกิดกับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ค่อยสนิทกัน อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบว่าตนเองถูกอีกฝ่ายไม่พอใจ
2.หยอกล้อและแกล้งกัน อาจจะเล่นแรงกันเกินไปหรืออีกฝ่ายไม่มีอารมณ์
3.การหึงหวง วัยรุ่นส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และบางคนอาจจะมีคู่รัก การชอบคนที่มีคู่รักอยู่แล้วจึงทำให้เกิดการหึงหวง
4.มีความผิดปกติทางจิตใจ คือเป็นคนก้าวร้าว ชอบการกระทำที่รุนแรงขาดความเมตตาปรานี
5.มาจากครอบครัวแต่ความขัดแย้ง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทุบตีและด่าว่าเป็นประจำลูกจะซึมซับพฤติกรรมที่รุนแรงเกิดการเรียนแบบมีอารมณ์ร้อนและชอบใช้ความรุนแรง
ผลกระทบของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชนเมื่อเกิดขึ้นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนี้
1.ทำให้โกรธเคือง เกิดความบาดหมางกันและเลิกคบหากัน ทำให้เสียเพื่อน
2.ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน จนทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
3.ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข ผู้ปกครองเดือดร้อน มีความทุกข์ใจ
4. สภาพจิตใจถูกทำร้ายและบอบช้ำมาก เกิดความคับแค้นใจ
5.เสียการเรียน เสียเวลา และอาจเสียอนาคต
แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาควรปฏิบัติ ดังนี้
1.ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิด มีเหตุผล
2.เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่นนักเรียน
3.เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม
4.เชื่อฟังคำสั่งสอนละคำแนะนำของบิดา มารดา และครูอาจารย์
5.แจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันทีเมื่อพบเหตุการณ์ที่จะทำให้เป็นปัญหาทำให้เกิดความรุนแรง
แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งในโรงเรียนอย่างสันติ มีดังนี้
1.ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและยอมรับฟังเหตุผล
2.รู้จักให้อภัยกัน
          3.ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา
          4.ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางด้านร่างกายและจิตใจ
          5.รู้จักการข่มใจ อดทนอดกลั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น