วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา

      ยาทุกตัว ย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องใช้อย่างรู้เท่าทันว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไรใช้ขนาดเท่าไหร่นานเท่าไหร่ และอาจมีโทษอะไรได้บ้าง ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
     อันตรายของยา อันตรายของยาอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
   - 
กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
   - 
กินพาราเซตามอลขนาดมาก ๆ อาจทำลายตับ เกิดภาวะตับวายเฉียบพลันถึงตายได้
   - 
กินฟีโนบาร์บิทาล  ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้
   - 
กินยารักษาเบาหวานมากเกิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลม ถึงตายได้

2. ผลข้างเคียงของยา (Side effect) ยาทุกตัวจะมีผลที่ไม่เป็นคุณหรือเป็นโทษ อยู่ควบคู่กับประโยชน์ของมัน
เสมอ เช่น
   - ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะ (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติกได้ เช่น ยาแอสไพริน ,   
     ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ , สเตอรอยด์ , รีเซอร์พีน
   - ทำให้หูหนวก เสียการทรงตัว หรือเป็นพิษต่อไต เช่น สเตรปโตไมชินคานาไมซิน (Kanamycin) ทำให้เกิด
     ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) เช่นไดไพโรนซัลฟาเฟนิลบิวตาโซนยารักษาคอพอกเป็นพิษ
   - ทำให้เป็นโรคโลหิตจางอะพลาสติก เช่น คลอแรมเฟนิคอล , เฟนิลบิวตาโซน
   - ทำให้มีพิษต่อตับ เช่น เตตราไซคลีน , อีริโทรไมซิน , คีโตโคนาโซล , ไอเอ็นเอช , ไพราซินาไมด์ เป็นต้น
   - ทำให้มีพิษต่อประสาทตา เช่น อีแทมบูทอล , คลอโรควีน  เป็นต้น
   - ทำให้ฟันเหลืองดำ เช่น เตตราไซคลีน ข้อที่ควรระวังอย่างยิ่งคือ ผลที่มีต่อเด็กเล็ก และทารกในครรภ์มารดา
3. การแพ้ยา (Drug allergy หรือ Drug hypersensitivity)
    
ดูรายละเอียดในหัวข้อ "การแพ้ยา"
4. การดื้อยา (Drug resistance) มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างผิด ๆ  ยาปฏิชีวนะ"
5. การใช้ยาในทางที่ผิดและการติดยา (Drug abuse และ Drug dependence) เช่น
   - 
การติดยามอร์ฟีนเฮโรอีนยากระตุ้นประสาท-แอมฟีตามีน (ยาม้ายาขยัน)
   - 
การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นยาลดไข้
   - 
การใช้สเตอรอยด์เป็นยาลดไข้ หรือยาอ้วน
   - 
การใช้เอฟีดรีน  หรือแอมฟีตามีน เป็นยาขยัน
   - 
การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) เป็นบำรุงร่างกาย
6. ปฏิกิริยาต่อกันของยา (Drug interaction) จะเกิดขึ้นเมื่อให้ยาเข้าไปในร่างกายมากกว่า 2 ตัวขึ้นไป
    
พร้อมกัน ซึ่งอาจจะเสริมฤทธิ์กัน ทำให้มีผลในการรักษามากขึ้น หรือทำให้ฤทธิ์ยาแรงขึ้น หรือต้านฤทธิ์กัน
    
ทำให้ผลการรักษาลดน้อยลงไป เช่น
   - 
แอลกอฮอล์ (เหล้าเบียร์) ถ้ากินพร้อมกับยานอนหลับยาแก้แพ้ จะช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับมากขึ้น
   - 
แอลกอฮอล์ ถ้ากินพร้อมกับแอสไพริน จะเสริมฤทธิ์การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
   - 
อีริโทรไมซิน  ถ้ากินพร้อมกับทีโอฟิลลีน  จะทำให้ระดับของยาชนิดหลังในกระแสเลือดสูงขึ้น
   - 
อีริโทรไมซิน หรือยารักษาเชื้อรา (เช่น คีโตโคนาโซล) ถ้ากินร่วมกับยาแก้แพ้-เทอร์เฟนาดีน จะทำให้ระดับยา
     
เทอร์เฟนาดีนในเลือดสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นเป็นอันตรายได้
   - 
เฟนิลบิวตาโซนไอเอ็นเอชหรือซัลฟา ถ้ากินพร้อมกับยารักษาเบาหวาน จะเสริมฤทธิ์การลดน้ำตาลทำให้เกิด
     
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
   - 
สเตอรอยด์ไทอาไซด์หรืออะดรีนาลินจะต้านฤทธิ์การลดน้ำตาลของยารักษาเบาหวาน ถ้าใช้พร้อมกัน อาจทำ
     
ให้การรักษาเบาหวานไม่ได้ผล
   - 
บาร์บิทูเรตอะม็อกซีซิลลิน , เตตราไซคลีน  หรือยารักษาโรคลมชัก (เช่น เฟนิโทอิน) ถ้ากินพร้อมกับยาเม็ด
     
คุมกำเนิด จะต้านฤทธิ์ยาคุมกำเนิด ทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผลยาลดกรด  ถ้ากินร่วมกับเตตราไซคลีนหรือยา
     
บำรุงโลหิต จะทำให้การดูดซึมของเตตราไซคลีน หรือยาบำรุงโลหิตลดน้อยลงแอสไพริน จะต้านฤทธิ์การ
     
ขับกรดยูริกของโพรเบเนชิด (Probenecid) จึงห้ามใช้แอสไพรินในอยู่ป่วยโรคเกาต์ที่กินโพรเบเนซิดอยู่
7. การตอบสนองต่อยาในคนที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น
คนที่มีภาวะพร่องเอนไชม์จี-6-พีดี ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้ากินแอสไพริน  ซัลฟา คลอแรมเฟนิคอล  ฟูราโซลิโดน  พีเอเอส  ควินิน  ไพรมาควีน  หรือไทอาเซตาโซน  อาจทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก ได้
คนที่เป็นโรคเก๊าท์  ถ้ากินไทอาไซด์  หรือแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้
คนที่เป็นเบาหวาน  ถ้ากินสเตอรอยด์  ไทอาไซด์  หรือยาเม็ดคุมกำเนิด ก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้



การป้องกันอันตรายจาการใช้ยา

1. 
ต้องทำความรู้จักยาทั้งในแง่สรรพคุณผลข้างเคียงขนาดที่ใช้ระยะเวลาที่ใช้ไม่ใช้อย่างเดาสุ่ม,
    
อย่างครอบจักรวาลอย่างพร่ำเพรื่อ หรืออย่างไม่รับผิดชอบ
2. 
ต้องทำความรู้จักกับคนไข้ที่จะใช้ยา ถามประวัติการแพ้ยาโรคภูมิแพ้ในตัวคนไข้และครอบครัวอาการซีด
    
เหลืองที่เกิดขึ้นประจำ
3. 
ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านตำรา หรือสอบถามผู้รู้
4. 
ควรแนะนำให้ชาวบ้านรู้จักโทษของยา หากจะเลือกซื้อยากินเอง ควรรู้จักยาชนิดนั้น ๆ ให้ดี อย่าปล่อยให้ทาง
ร้านขายยาจัดยาชุดที่ไม่รู้จักให้เพราะในยาชุดมักมียาอันตรายผสมอยู่ด้วยเช่นคลอแรมเฟนิคอล,เพร็ดนิโซโลน 
    
ฯลฯ
5. 
ควรแนะนำให้ร้านขายยารับผิดชอบต่อการจ่ายยาให้แก่ลูกค้า อย่าจ่ายยาอันตรายอย่างพร่ำเพรื่อ
6. 
อย่าฉีดยาโดยไม่จำเป็นเลือกฉีในรายที่อาการรุนแรงหรืออาเจียนกินไม่ได้เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการแพ้ยา
    
แล้ว ยังอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เป็นฝีหัวเข็ม โรคตับอักเสบจากไวรัส หรือโรคเอดส์และอาจฉีดถูกเส้น
    
ประสาทได้อีกด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น